ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ โชว์กำไรสุทธิ 31.5 ล้านบาท

เว็บไซต์ www.thereporter.asia “ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์” โชว์ผลงานดีสร้างกำไรสุทธิ 31.5 ล้านบาท เติบโตจากไตรมาสก่อน 39.8% ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดในไตรมาส 2/2563 เปิดแผนครึ่งปีหลังคุมค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง โฟกัสขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ เร่งพัฒนาแพลทฟอร์มรองรับอีคอมเมิร์ซ นายทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ III เปิดเผยว่า “ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2563 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 31.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.0 ล้านบาท จากไตรมาส 1/2563 เติบโตขึ้นร้อยละ 39.8 แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าส่งออกของประเทศไทยในไตรมาสที่ผ่านมาจะลดลงถึงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ การเติบโตของกำไรสุทธิดังกล่าวเป็นผลมาจากแผนการบริหารจัดการต้นทุน และผลประกอบการที่โดดเด่นของบริษัทร่วมและการร่วมค้า จากการเข้าลงทุนของบริษัทฯ ตามกลยุทธ์การขยายธุรกิจในภูมิภาคเพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยมีส่วนแบ่งกำไรในไตรมาส 2/2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 78.8 ในส่วนของรายได้รวมในไตรมาส 2/2563 ของบริษัทฯ มีจำนวน 346.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าลดลงร้อยละ 15.0 และลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 51.3 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจขายระวางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศของบริษัทฯ ผ่านบริษัท เทเลพอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งรับรู้ผลประกอบการในลักษณะของส่วนแบ่งกำไรแทนการบันทึกรายได้จากการขายระวางขนส่งสินค้า” สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในครึ่งปีหลัง ในส่วนของธุรกิจหลักทั้ง 4 กลุ่มนั้น กลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ คาดว่าจะยังไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เต็มรูปแบบในเร็ววันนี้ บริษัทฯ ยังคงเน้นการควบคุมค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนขาย มุ่งขยายธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงการแพร่ระบาดที่เริ่มคุ้นชินต่อการใช้แพลทฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ในการสั่งซื้อสินค้า ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโ ดยเฉพาะการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศที่มีบางสายการบินกลับมาบริการบางเส้นทาง ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจการรับจัดการขนส่งสินค้าแบบ Wholesale จากการมีทางเลือกให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น และยังมีอัตราการทำกำไรเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานในตลาดยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบเช่าเหมาลำ โดยเลือกเส้นทางที่มีความต้องการสูงและสร้างกำไรได้ ทางด้านกลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก เน้นการให้บริการขนส่งสินค้าทางบกและการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลตอบรับค่อนข้างดีจากที่เริ่มให้บริการในไตรมาสก่อน และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกเนื่องจากการขนส่งสินค้าทางอากาศยังไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ กลุ่มธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าทั่วไป จะมุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หรือกระทบไม่มาก ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มอาหาร ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งลูกค้ากลุ่มการก่อสร้างโครงการ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และพลังงานไฟฟ้า จะเน้นการให้บริการผ่านการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น การนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ของโครงการต่างๆ ทางทะเลจากประเทศจีนผ่านไทยส่งต่อไปยังประเทศในกลุ่มอินโดจีนโดยใช้รถขนส่งสินค้าข้ามแดน เช่น ลาว กัมพูชา และในกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์ บริษัทฯ มีแผนเพิ่มพื้นที่คลังสินค้าในไตรมาส 3/2563 เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังขยายไลน์สินค้าด้วยการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดและการใช้งานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเพิ่มเติมจากบรรจุภัณฑ์ขนาดมาตรฐานที่เคยจำหน่าย ส่วนธุรกิจของบริษัท DGPS (Singapore) คาดว่ายังสามารถสร้างผลประกอบการได้ดีทั้งจากบริการเดิมและบริการใหม่ที่มีผลตอบรับดีอย่างบริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อให้หน่วยงานและสำนักงานต่าง ๆ อีกทั้งการขนส่งสินค้าแอลกอฮอล์ น้ำยาทำความสะอาดที่มีอุปสงค์ในช่วงแพร่ระบาดยังคงมีการเติบโตได้ดี นอกจากการพัฒนาธุรกิจหลักทั้ง 4 กลุ่มแล้ว ในส่วนของกลุ่มธุรกิจ Business Development บริษัทฯ มีแผนขยายแหล่งรายได้ในธุรกิจแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นภายใต้ 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การต่อยอดขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตรร่วมค้า การขยายขอบเขตการให้บริการโลจิสติกส์ และการพัฒนารูปแบบบริการด้านโลจิสติกส์ด้วย Digital Platform โดยบริษัทฯ จะโฟกัสธุรกิจการขนส่งสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์ภายในประเทศ รวมทั้งธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบ Charter Flight ในลักษณะ On Demand การศึกษาและพัฒนาบริการด้านการขนส่งทางบกในระบบอื่นๆ ที่บริษัทฯ ยังไม่เคยให้บริการมาก่อนเพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ อีกทั้งการพัฒนาแพลทฟอร์มสำหรับกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้าง E-Logistics Platform เพื่อต่อยอดให้ฐานลูกค้าปัจจุบันของบริษัทซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม B2B ให้มีศักยภาพและช่องทางในการขายในลักษณะ Online Marketplace เพิ่มขึ้น   https://www.thereporter.asia/th/2020/08/17/iii-5/
Read more...

"ทริพเพิล ไอ" ฝ่าวิกฤต COVID-19 ได้ดีเกินคาด สร้างผลงานดีกว่าไตรมาสแรก 39.8%

"ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์" โชว์ผลงานดีสร้างกำไรสุทธิ 31.5 ล้านบาท เติบโตจากไตรมาสก่อน 39.8% ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดในไตรมาส 2/2563 เปิดแผนครึ่งปีหลังคุมค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง โฟกัสขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ เร่งพัฒนาแพลทฟอร์มรองรับอีคอมเมิร์ซ นายทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ III เปิดเผยว่า “ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2563 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 31.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.0 ล้านบาท จากไตรมาส 1/2563 เติบโตขึ้นร้อยละ 39.8 แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าส่งออกของประเทศไทยในไตรมาสที่ผ่านมาจะลดลงถึงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ การเติบโตของกำไรสุทธิดังกล่าวเป็นผลมาจากแผนการบริหารจัดการต้นทุน และผลประกอบการที่โดดเด่นของบริษัทร่วมและการร่วมค้า จากการเข้าลงทุนของบริษัทฯ ตามกลยุทธ์การขยายธุรกิจในภูมิภาคเพื่อกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยมีส่วนแบ่งกำไรในไตรมาส 2/2563 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 78.8 ในส่วนของรายได้รวมในไตรมาส 2/2563 ของบริษัทฯ มีจำนวน 346.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าลดลงร้อยละ 15.0 และลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 51.3 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจขายระวางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศของบริษัทฯ ผ่านบริษัท เทเลพอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งรับรู้ผลประกอบการในลักษณะของส่วนแบ่งกำไรแทนการบันทึกรายได้จากการขายระวางขนส่งสินค้า” สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในครึ่งปีหลัง ในส่วนของธุรกิจหลักทั้ง 4 กลุ่มนั้น กลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ คาดว่าจะยังไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เต็มรูปแบบในเร็ววันนี้ บริษัทฯ ยังคงเน้นการควบคุมค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนขาย มุ่งขยายธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอีคอมเมิร์ซ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงการแพร่ระบาดที่เริ่มคุ้นชินต่อการใช้แพลทฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ในการสั่งซื้อสินค้า ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศที่มีบางสายการบินกลับมาบริการบางเส้นทาง ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจการรับจัดการขนส่งสินค้าแบบ Wholesale จากการมีทางเลือกให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น และยังมีอัตราการทำกำไรเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานในตลาดยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบเช่าเหมาลำ โดยเลือกเส้นทางที่มีความต้องการสูงและสร้างกำไรได้ ทางด้านกลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก เน้นการให้บริการขนส่งสินค้าทางบกและการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลตอบรับค่อนข้างดีจากที่เริ่มให้บริการในไตรมาสก่อน และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกเนื่องจากการขนส่งสินค้าทางอากาศยังไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ กลุ่มธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าทั่วไป จะมุ่งเน้นลูกค้ากลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หรือกระทบไม่มาก ได้แก่ ลูกค้ากลุ่มอาหาร ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งลูกค้ากลุ่มการก่อสร้างโครงการ สาธารณูปโภคพื้นฐาน และพลังงานไฟฟ้า จะเน้นการให้บริการผ่านการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น การนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ของโครงการต่างๆ ทางทะเลจากประเทศจีนผ่านไทยส่งต่อไปยังประเทศในกลุ่มอินโดจีนโดยใช้รถขนส่งสินค้าข้ามแดน เช่น ลาว กัมพูชา และในกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์ บริษัทฯ มีแผนเพิ่มพื้นที่คลังสินค้าในไตรมาส 3/2563 เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังขยายไลน์สินค้าด้วยการจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดและการใช้งานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเพิ่มเติมจากบรรจุภัณฑ์ขนาดมาตรฐานที่เคยจำหน่าย ส่วนธุรกิจของบริษัท DGPS (Singapore) คาดว่ายังสามารถสร้างผลประกอบการได้ดีทั้งจากบริการเดิมและบริการใหม่ที่มีผลตอบรับดีอย่างบริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อให้หน่วยงานและสำนักงานต่าง ๆ อีกทั้งการขนส่งสินค้าแอลกอฮอล์ น้ำยาทำความสะอาดที่มีอุปสงค์ในช่วงแพร่ระบาดยังคงมีการเติบโตได้ดี นอกจากการพัฒนาธุรกิจหลักทั้ง 4 กลุ่มแล้ว ในส่วนของกลุ่มธุรกิจ Business Development บริษัทฯ มีแผนขยายแหล่งรายได้ในธุรกิจแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นภายใต้ 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การต่อยอดขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตรร่วมค้า การขยายขอบเขตการให้บริการโลจิสติกส์ และการพัฒนารูปแบบบริการด้านโลจิสติกส์ด้วย Digital Platform โดยบริษัทฯ จะโฟกัสธุรกิจการขนส่งสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์ภายในประเทศ รวมทั้งธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบ Charter Flight ในลักษณะ On Demand การศึกษาและพัฒนาบริการด้านการขนส่งทางบกในระบบอื่นๆ ที่บริษัทฯ ยังไม่เคยให้บริการมาก่อนเพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ อีกทั้งการพัฒนาแพลทฟอร์มสำหรับกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้าง E-Logistics Platform เพื่อต่อยอดให้ฐานลูกค้าปัจจุบันของบริษัทซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม B2B ให้มีศักยภาพและช่องทางในการขายในลักษณะ Online Marketplace เพิ่มขึ้น  
Read more...

"III ขายหุ้น SAL "ได้หรือเสีย"อย่างไร.?

สัมภาษณ์สด คุณทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ III ในรายการข่าวหุ้นเจาะตลาด (วันที่ 16 กรกฎาคม 2563) FM 96.0 MHz. และ FB Live : ข่าวหุ้นเจาะตลาด โดย บูรพา สงวนวงศ์ / สุภชัย ปกป้อง และ ทีมงานข่าวหุ้นธุรกิจ
Read more...

ทริพเพิล ไอ ปรับกลยุทธ์ฟื้นธุรกิจหลังพิษโควิด-19 ปูพรมรุกระบบขนส่งสินค้าภายในประเทศ เร่งพัฒนาอีโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซ พร้อมผนึกพันธมิตรเสริมธุรกิจแกร่ง

ทริพเพิล ไอ ปรับกลยุทธ์ฟื้นธุรกิจหลังพิษโควิด-19 ปูพรมรุกระบบขนส่งสินค้าภายในประเทศ เร่งพัฒนาอีโลจิสติกส์สำหรับอีคอมเมิร์ซ พร้อมผนึกพันธมิตรเสริมธุรกิจแกร่ง ­­ นายทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งทางกลุ่มบริษัทเองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน จึงได้มีการวางแผนเพื่อปรับแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อฟื้นฟูรายได้บางส่วนของกลุ่มบริษัทที่สูญเสียไป โดยเฉพาะรายได้จากกลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะเป็นแผนการดำเนินงานปี 2563-2566 โดยจะมุ่งเน้นการขยายฐานธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งมีทั้งการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ รวมทั้งการสร้างสรรค์โลจิสติกส์แพลตฟอร์มที่ตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน และการต่อยอดธุรกิจเพื่อชดเชยรายได้ของกลุ่มบริษัทที่หายไป และยังเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย” โดยแผนการพัฒนาธุรกิจดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
  1. การขยายการให้บริการด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศ ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทมุ่งเน้นการทำธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่ภายหลังวิกฤตโรคระบาดเกิดการปิดประเทศทั่วโลก ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาค ทำให้แนวโน้มการขนส่งสินค้าภายในประเทศมีโอกาสเติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางบริษัทได้ทำการพัฒนาการขนส่งภายในประเทศรูปแบบใหม่ๆ โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ในไตรมาส 4 ของปีนี้
  2. การขึ้นเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์สำหรับสินค้ากลุ่มอาหาร และกลุ่มยารวมถึงเวชภัณฑ์ ทางกลุ่มบริษัทเชื่อมั่นว่าสินค้าทั้งสองกลุ่มนี้จะมีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยเห็นได้จากข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารในเดือน ม.ค.-พ.ค. 2563 อยู่ที่ 9,847 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มผักผลไม้สด แช่แข็ง และแปรรูป ทูน่ากระป๋อง ไก่แช่แข็งและแปรรูป ซึ่งสวนทางกับภาพรวมการส่งออกสินค้าของไทยในห้าเดือนแรกของปีนี้ที่มีอัตราลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.7 ในขณะที่ภาพรวมการนำเข้าสินค้าของไทยในเดือน ม.ค.-พ.ค. 2563 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 11.6 แต่สินค้ากลุ่มยาและเวชภัณฑ์ กลับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,406 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
  3. การร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ๆ ในการขยายฐานธุรกิจโลจิสติกส์ของกลุ่มบริษัทให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนารูปแบบบริการด้านโลจิสติกส์ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งพบว่าหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีผลต่อการใช้บริการด้านโลจิสติกส์ ส่งผลให้การสั่งสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทางกลุ่มบริษัทได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดดังกล่าว ภายหลังจากการเข้าลงทุนในบริษัท แกแล็คซี่ เวนเจอร์ส จํากัด (GV) ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทได้เริ่มพัฒนารูปแบบบริการด้านโลจิสติกส์ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มหรืออีโลจิสติกส์สำหรับลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซ โดยอาศัยจุดแข็งของบริษัทร่วมทุนอย่าง GV ที่มีบริษัทย่อย เช่น X Commerce ที่มีความชำนาญในการสร้างแพลทฟอร์มสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และ Sokochan ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์สำหรับกลุ่มลูกค้าอีคอมเมิร์ซ โดยจัดทำ Fulfillment Center สำหรับกลุ่มสินค้าที่เป็นอาหารสดที่ใช้ช่องทางการค้าในลักษณะออนไลน์ อีกทั้งยังมีการวางแผนพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อต่อยอดกับธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ในส่วนของการให้บริการในภาคพื้นอากาศยาน ทางกลุ่มบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือเป็นพันธมิตรใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีและมีประสบการณ์ในการให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจการบินมายาวนาน ได้ให้ความสนใจเข้าลงทุนในบริษัท เอสเอแอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด โดยล่าสุดคณะกรรมการบริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน ) ได้มีมติให้บริษัทขายหุ้นบริษัท เอสเอแอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 33.20 ให้กับบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) และภายหลังการขายหุ้นดังกล่าว จะทำให้กลุ่มบริษัทยังคงถือหุ้นในบริษัท เอสเอแอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 25 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญอยู่ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทเล็งเห็นว่าการร่วมมือกับบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้จะทำให้เกิดการประสานศักยภาพความชำนาญด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของทางกลุ่มบริษัทและความเชี่ยวชาญด้านไอที ของบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) โดยทั้งสองบริษัทจะร่วมกันต่อยอดขยายศักยภาพการให้บริการของทั้งบริษัทเอสเอแอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (AOTGA) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง AOT และบริษัท เอสเอแอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด ในการดำเนินธุรกิจการให้บริการภาคพื้นอากาศยานและผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ AOT ให้ครอบคลุมและครบวงจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน AOTGA ได้ให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และเตรียมขยายการให้บริการในท่าอากาศยานระหว่างประเทศอื่นๆ ต่อไป  
Read more...

บมจ. ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ (iii) ปิดงบไตรมาส 1/2563 ยังคงทำกำไรท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ปรับกลยุทธ์หันมาขนส่งสินค้าแบบเช่าเหมาลำทดแทนสายการบินหยุดให้บริการ เร่งพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศเตรียมสร้างแพลทฟอร์มใหม่ พร้อมลุยเต็มสูบหลังโรคระบาดคลี่คลาย

นายทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1/2563 ว่า “แม้ว่าภาพรวมรายได้ของบริษัทจะปรับตัวลดลงเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก แต่ผลประกอบการของบริษัทยังคงสามารถทำกำไรได้ แม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยบริษัทมีกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2563 จำนวน 22.5 ล้านบาท ลดลง 20.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 47.4 จากไตรมาส 1/2562 ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัจจัยภายนอกทั้งสภาพเศรษฐกิจและวิกฤติ COVID-19 นอกจากนี้ ในไตรมาส 1/2563 บริษัทยังได้รับผลกระทบจากการบันทึกตามมาตรฐานบัญชีใหม่ อีกทั้งธุรกิจขายระวางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางอากาศของบริษัท ได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานเป็นการดำเนินงานผ่านทางบริษัท เทเลพอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทการร่วมค้าระหว่างบริษัท กับบริษัท Teleport Everywhere Pte., Ltd. ในกลุ่ม AirAsia จึงทำให้บริษัทไม่ได้มีการบันทึกรายได้ในส่วนของเทเลพอร์ต (ประเทศไทย) จากการขายระวางขนส่งสินค้า แต่เป็นการรับรู้ผลประกอบการในลักษณะของส่วนแบ่งกำไรแทน ซึ่งส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าในไตรมาส 1/2563 จำนวน 23.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.5 ตอบรับกับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาค แม้ว่าธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศบางส่วนเริ่มได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในขณะที่ธุรกิจของ DG Packaging Pte., Ltd. ในประเทศสิงคโปร์ กลับมีปริมาณการขายบรรจุภัณฑ์และการขนส่งสำหรับสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค และยังสามารถเพิ่มรายได้จากการให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภายในสำนักงานให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสร้างผลประกอบการเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทคาดว่าไตรมาสที่ 2/2563 ธุรกิจจะยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเนื่องจากไตรมาสแรก และจากแนวโน้มปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางบริษัทจึงมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจในเชิงรับมาตั้งแต่ในไตรมาสแรกของปี ได้แก่ การบริหารจัดการต้นทุนซึ่งจะส่งผลอย่างชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 2/2563 รวมถึงการหันมาให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศในรูปแบบการเช่าเหมาลำ (Chartered Flight) และการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ภายในประเทศมากขึ้นเพื่อทดแทนการหยุดให้บริการของสายการบินต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทยังเร่งพัฒนาแผนธุรกิจเชิงรุกด้านการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ในอนาคต และยังมีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาโมเดลและแพลทฟอร์มการให้บริการด้านโลจิสติกส์ใหม่ๆ ร่วมกับพันธมิตร เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต้องการด้านโลจิสติกส์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นภายหลังวิกฤตโรคระบาด ซึ่งการปรับแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจหลัก 4 กลุ่ม และกลุ่มธุรกิจ Business Development” ในส่วนของกลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ บริษัทฯ และ บจก. เทเลพอร์ต (ประเทศไทย) ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศมาเป็นบริการเช่าเหมาลำโดยเฉพาะ โดยเลือกเส้นทางที่ยังทำกำไรได้ โดยในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเริ่มให้บริการขนส่งสินค้าแบบเช่าเหมาลำไปยังหลายประเทศในแถบเอเชีย กลุ่มธุรกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก ภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายการเดินเรือ Rizhao Port Shipping Line ที่บริษัทเป็นตัวแทนได้หยุดให้บริการตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา บริษัทจึงเพิ่มสัดส่วนการให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนทางบกมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาขนส่งสินค้าทางบกในรูปแบบอื่นอีกด้วย สำหรับกลุ่มธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์และกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับสินค้าอันตรายและเคมีภัณฑ์ ได้มีการบริหารจัดการด้านต้นทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายคงที่ และบริหารจัดการต้นทุนขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยบริษัทเริ่มมีการพัฒนาโครงการขนส่งสินค้าแบบ Multimodal เช่น การขนส่งสินค้าทางทะเลจากประเทศจีนผ่านประเทศไทยเพื่อส่งต่อสินค้าไปยังประเทศลาวโดยการใช้รถขนส่งสินค้าข้ามแดน รวมทั้งมีการขยายฐานลูกค้าที่เป็น B2B มากขึ้นเพื่อชดเชยลูกค้ากลุ่ม Retail ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดห้างร้าน Modern Trade ต่าง ๆ นอกจากการพัฒนาธุรกิจหลักทั้ง 4 กลุ่มแล้วนั้น บริษัทยังมีแผนการพัฒนาธุรกิจใหม่ในกลุ่มธุรกิจ Business Development ที่มุ่งเน้นการขยายแหล่งรายได้จากธุรกิจรูปแบบใหม่มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการปิดประเทศทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาค ทำให้การค้าระหว่างประเทศภายในภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทางบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการให้บริการด้านโลจิสติกส์ภายในภูมิภาคและภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ภายใต้ 3 แนวทางหลัก ดังนี้ 1. การต่อยอดขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตรร่วมค้า : ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ บริษัทรวมกับ เทเลพอร์ต (ประเทศไทย) เตรียมปรับรูปแบบการให้บริการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งสินค้าแบบ Cargo Flight โดยจะกำหนดตารางการบินในการขนส่งสินค้าทางอากาศให้มีความสม่ำเสมอและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อทดแทนการหยุดให้บริการของสายการบินทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทยังร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจระดับภูมิภาคที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเตรียมให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบด่วนพิเศษภายในภูมิภาคสำหรับกลุ่มลูกค้า B2B และยังพัฒนาการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศแบบด่วนพิเศษอีกด้วย 2. การขยายขอบเขตการให้บริการโลจิสติกส์ : บริษัทจะขยายธุรกิจในภาคพื้นอากาศยานภายในประเทศและผู้โดยสาร ซึ่งปัจจุบันให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และเตรียมขยายการให้บริการในท่าอากาศยานระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ช่วงต้นไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยคาดว่าจะเป็นช่วงที่มีปริมาณการใช้บริการภาคพื้นอากาศยานและผู้โดยสารจะกลับมาเป็นปกติภายหลังจากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลาย บริษัทยังเตรียมพร้อมในการให้บริการศูนย์ขนส่งสินค้า Express Center ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งคาดว่าเริ่มให้บริการได้ในไตรมาส 4 เช่นกัน ปัจจุบัน บริษัทกำลังศึกษาแผนการร่วมทุนกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาบริการด้านโลจิสติกส์ในลักษณะ Project Cargo Handling & Cross Border รวมทั้งการให้บริการด้านการขนส่งทางบกในระบบราง เพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก 3. การพัฒนารูปแบบบริการด้านโลจิสติกส์ด้วย Digital Platform : บริษัทเตรียมจัดทำ Fulfillment Center สำหรับกลุ่มสินค้าที่เป็นอาหารสดที่ใช้ช่องทางการค้าในลักษณะ Online โดยอาศัยจุดแข็งของพันธมิตรที่มีความชำนาญในการสร้างแพลทฟอร์มสำหรับธุรกิจ E-Commerce และ E-Logistics อีกทั้งยังมีการร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนา E-Commerce Platform ต่อยอดกับธุรกิจโลจิสติกส์ของบริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากการปรับแผนการดำเนินธุรกิจทั้งในเชิงรุกและเชิงรับดังกล่าว บริษัทคาดว่าจะยังสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ายังมีปัจจัยลบจากภายนอก
Read more...